ปัจจุบัน กฎหมาย(พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2535)
ห้ามมิให้ผู้ใดมีในครอบครองหรือค้าสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองเป็นอันขาด
ยกเว้นสัตว์ป่าชนิดที่กำหนดให้เพาะพันธุ์ได้ตามกฎหมาย
และได้รับอนุญาตจากอธิบดี
เช็ครายชื่อ
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าคุ้มครอง
ตามกฎกระทรวงกำหนดที่นี่
โทษ...ปรับไม่เกิน 4
หมื่นหรือจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากมีผู้ใดเลี้ยง ,
มีไว้ในครอบครองหรือค้าสัตว์ป่า
ตามรายชื่อสัตว์ป่าที่กำหนดในกฎกระทรวง
แม้เพียงตัวเดียว
ต้องมีความผิดอาญาได้รับโทษดังกล่าวข้างต้น
ปัจจุบันหากผู้ใดเลี้ยงสัตว์ป่าไว้
ไม่สามารถขอใบอนุญาตจากกรมป่าไม้
หรือ ที่อื่นใดได้
ผู้ที่มีใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าในปัจจุบัน
ทุกราย
ต้องได้มาจากการจดแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าแก่กรมป่าไม้ไว้ตั้งแต่
ปี พ.ศ.2535 ในวันที่ พ.ร.บ.ฯ
ประกาศใช้ ตามบทเฉพาะกาลใน พ.ร.บ.ฯ และผู้ได้รับอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่าตามกฎหมายกำหนดให้เท่านั้น
ในบทเฉพาะกาล
ได้เปิดโอกาสให้
ผู้ที่ครอบครองสัตว์ป่าอยู่ก่อนหรือในวันที่
พ.ร.บ.ฯประกาศใช้
ให้แจ้งการครอบครองสัตว์ป่าที่มี
ต่อกรมป่าไม้
แล้วจึงขายหรือคืนให้กรมป่าไม้หรือเลี้ยงต่อได้
ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ครอบครองในขณะนั้น
แต่ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดตาม
พ.ร.บ. (ภายในปี พ.ศ.2535)
ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในบทเฉพาะกาล
ทำให้เจ้าหน้าที่สับสน
คำกล่าว "ห้ามจำหน่าย จ่ายโอนให้แก่ผู้อื่นมิได้
เว้นแต่โดยการตกทอดทางมรดก"
มาจากตรงนี้ครับ
ในขณะนั้น
ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้เลี้ยงสัตว์ป่าที่มีความประสงค์จะเลี้ยงสัตว์ป่าต่อไป
เกิดความสับสนกัน
พอสมควร
เนื่องจากในบทเฉพาะกาลนั้น
มี 2
มาตราที่มีความแตกต่างกัน
เพียงข้อความนิดเดียว
แต่มีผลมากกับผู้เลี้ยงสัตว์ป่า
เพราะดูนัยตามกฎหมาย ทั้ง 2
มาตรา หมายถึง
สัตว์ป่าที่ครอบครองฯเป็นของรัฐ
ในมาตรา 66 และ มาตรา 61,67
สัตว์ป่าที่แจ้งครอบครองฯไว้เป็นสมบัติของผู้ครอบครอง
โดยมีข้อปฏิบัติแตกต่างกัน
เป็นระเบียบกรมป่าไม้ และ
กฎกระทรวง
ที่ออกมาบังคับใช้ภายหลัง 2-3
ปี
ข้อแตกต่างมาตรา 66
และมาตรา 67 ตามบทเฉพาะกาล
มาตรา 66 |
มาตรา 67
และ 61 |
ผู้ใดมีสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในความครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ |
ให้ผู้มีสัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในความครอบครอง
โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ |
นำสัตว์ป่าคุ้มครองมามอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษและให้สัตว์ป่าคุ้มครองดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
อธิบดีอาจมอบสัตว์ป่าดังกล่าวให้อยู่ในความดูแลของผู้นั้นต่อไปได้ตามเห็นตามสมควร
แต่จะจำหน่าย จ่ายโอนให้แก่ผู้อื่นมิได้
เว้นแต่โดยการตกทอดทางมรดก |
ถ้ามีสัตว์ป่าคุ้มครองให้นำมาตรา
61 มาบังใช้ดังนี้
ให้ผู้มีสัตว์ป่าคุ้มครอง
แจ้งชนิดและจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครองที่อยู่ในความครอบครองของตน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ
หากผู้เป็นเจ้าของสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นไม่ประสงค์จะเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นต่อไป
ให้จำหน่ายสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น
ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ
หรือจำหน่ายให้ผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์
ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น
ประสงค์จะเลี้ยงดูสัตว์ป่าคุ้มครองต่อไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
ให้อธิบดีอนุญาตให้ผู้นั้นครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นต่อไปได้
โดยออกใบอนุญาตคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว
ให้ไว้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
ใบอนุญาตดังกล่าว
ให้มีอายุเพียงเท่าอายุของสัตว์ป่าคุ้มครองนั้น |
มีระเบียบกรมป่าไม้
พ.ศ.2538 มาบังคับปฏิบัติดังนี้
ในกรณีที่เห็นสมควรส่งมอบสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครองคืนให้ผู้ครอบครองเดิม
เลี้ยงดูชั่วคราวแทนกรมป่าไม้ให้ออก
หนังสือมอบให้ครอบครองสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวแทนกรมป่าไม้ ตามแบบอ.ญ./ส.ป.1ท้ายระเบียบนี้
พร้อมกับให้จัดทำบันทึกรับรองการปฏิบัติตามเงื่อนไขท้าย
หนังสือมอบให้ครอบครองฯตามแบบ
อ.ญ./ส.ป.3 ท้ายระเบียบนี้
ไว้เป็นหลักฐานด้วย
ในกรณีเห็นว่าไม่สมควร
ส่งมอบสัตว์ป่าสงวน
หรือสัตว์ป่าคุ้มครองให้ผู้ครอบครองเดิมเลี้ยงดูชั่วคราวแทนกรมป่าไม้
ให้สั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
ขอรับมอบสัตว์ป่าคืนจากผู้ครอบครองเดิม
แล้วนำส่งส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า
กรมป่าไม้
เพื่อดำเนินการต่อไป
|
มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ.
2537) มาบังคับปฏิบัติดังนี้
ผู้แจ้งได้แสดงความประสงค์จะ
เลี้ยงดูสัตว์ป่านั้นต่อไป
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรายงานต่ออธิบดี
และเมื่ออธิการบดีได้พิจารณาเห็นสมควรอนุญาต
ให้เลี้ยงดูสัตว์ป่านั้นต่อไปได้
ให้ออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราวตามแบบ
สป.2 ท้ายกฎกระทรวงนี้
ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว
มีความจำเป็นต้องนำสัตว์ป่าไปเก็บไว้
ณ สถานที่อื่น
ที่มิใช่สถานที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ให้ยื่นขออนุญาต
เป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่ออธิบดีมีความเห็นชอบ
กับการย้ายสถานที่แล้ว จึงดำเนินการย้ายได้
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมจำนวนสัตว์ป่า
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสัตว์ป่าคุ้มครอง
แตกต่างไปจากจำนวนที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
เนื่องจากการสืบพันธุ์ ตาย
โอนให้บุคคลอื่น
หรือโดยเหตุอื่นใด
ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
|
 |
จากเจตนาของกฎหมายข้างต้น
จะเห็นว่าสัตว์ป่านั้น
เป็นของแผ่นดิน
ดูแลโดยกรมป่าไม้ |
 |
ใบอนุญาต อ.ญ./ส.ป.1
มีเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตบังคับ |
 |
ตามระเบียบกรมป่าไม้
สัตว์ป่าเป็นของกรมป่าไม้
ไม่สามารถจำหน่าย จ่าย
โอนได้
เพียงรับมรดกเลี้ยงดูสัตว์ป่าแทนกรมป่าไม้ต่อไปเท่านั้น |
|
 |
สัตว์ป่าเป็นของผู้ครอบครอง
แต่ยังต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ |
 |
ใบอนุญาต ตามแบบ ส.ป.2
ไม่มีเงื่อนไขบังคับ |
 |
ตามกฎกระทรวงสามารถโอนให้บุคคลอื่นหรือเคลื่อนย้ายได้ |
|
ตัวอย่างหนังสือมอบให้ครอบครองฯตามแบบ
อ.ญ./ส.ป.1
|
ตัวอย่างใบอนุญาตให้ครอบครองฯตามแบบ
ส.ป.2
|
ปัญหาในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ครอบครองสัตว์ป่าตามบทเฉพาะกาลคือ
การนำข้อกฎหมายที่มีเพียงไม่กี่มาตรามาปฏิบัตินั้น
เจ้าหน้าที่และผู้เลี้ยงสัตว์ป่าได้ยึดเอาข้อกำหนดที่เป็นตัวอักษรที่แสดงใน
พ.ร.บ.ฯมาถกเถียงกันเท่านั้น ไม่ได้ตรวจสอบความละเอียดของกฎหมายอย่างจริงจัง
ดังที่มีรายละเอียดกล่าวมาข้างต้น
ฉะนั้นเมื่อเป็นข่าวเกี่ยวกับสัตว์ป่าที่มีใบอนุญาตครอบครอง
จะมีเจ้าหน้าที่ออกมาชี้แจงในทางเดียวเสมอว่า
สัตว์ป่าที่มีใบอนุญาตฯ ไม่สามารถจำหน่าย
จ่าย โอนได้
ยกเว้นตกทอดทางมรดก
ซึ่งความจริงข้อความนี้ก็ปรากฏใน
พ.ร.บ.ฯในมาตรา 66 (ครอบครองสัตว์ป่าโดยมิชอบ)เท่านั้น
มิได้บังคับใช้ในมาตราอื่นด้วย
ในตัวบท พ.ร.บ.ฯมิได้กล่าวถึง
การโอนให้บุคคลอื่นได้ตามมาตรา
67(ครอบครองสัตว์ป่าโดยชอบ)
หากเจ้าหน้าที่ไม่ศึกษากฎกระทรวงที่ออกมาบังคับใช้ปฏิบัติตามมาตรานี้
ก็จะไม่ทราบได้เลยว่า
ผู้ครอบครองสัตว์ป่าตามมาตรานี้
สามารถเคลื่อนย้าย
หรือโอนสัตว์ป่าให้บุคคลอื่นได้
โดยอธิบดีมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาต(ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่
2250/2537)
สัตว์ป่าโดยชอบด้วยกฎหมาย
และสัตว์ป่าโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
พิจารณาอย่างไร
จึงทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องกันหลายแห่ง
ต้องดูจาก บัญชีกำหนดปริมาณสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ฉบับหลังสุด
ก่อนวันประกาศใช้ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2535 เพราะ
ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2503 กำหนดไว้ให้
ผู้ใดมีสัตว์ป่าคุ้มครองไม่เกินปริมาณตามบัญชีประกาศกระทรวง
ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย (ไม่ต้องขออนุญาต
ในขณะนั้น)
ฉะนั้น
หากเมื่อผู้ครอบครองสัตว์ป่าและจดแจ้งจำนวนสัตว์ป่าต่อเจ้าหน้าที่
ไม่เกินปริมาณสัตว์ป่าที่กำหนดตามประกาศกระทรวงถือว่า
มีสัตว์ป่าครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติบังคับใช้
แต่หากมีสัตว์ป่าและจดแจ้งจำนวนต่อกรมป่าไม้
เกินกว่าปริมาณสัตว์ป่าที่กำหนดตามประกาศฯถือว่า
มีสัตว์ป่าครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติบังคับใช้
สรุปก็คือ |
มีสัตว์ป่าครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย(มาตรา
66) |
มีสัตว์ป่าครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย(มาตรา
67) |
- แจ้งครอบครองสัตว์ป่าภายใน
90วัน หลังวัน พ.ร.บ.ฯประกาศใช้
(ในปี พ.ศ.2535)
- แจ้งจำนวนครอบครองสัตว์ป่า
เกินกว่าปริมาณสัตว์ป่าที่กำหนดในบัญชีฯ
|
- แจ้งครอบครองสัตว์ป่าภายใน
90วัน หลังวัน
พ.ร.บ.ฯประกาศใช้ (ในปี พ.ศ.2535)
- แจ้งจำนวนครอบครองสัตว์ป่า
ไม่เกินกว่าปริมาณสัตว์ป่าที่กำหนดในบัญชีฯ
|
Check
บัญชีกำหนดปริมาณสัตว์ป่าคุ้มครอง
โดยไม่ผิดกฎหมายที่นี่! (พ.ร.บ.2503)
ปัจจุบัน มี พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า(ฉบับที่
2) พ.ศ.2546 บังคับใช้
ทำให้มาตรา 66
ไม่ได้ถูกนำมาใช้ต่อไป
ยกเว้น ผู้แจ้งตามมาตรา 66
เมื่อปี พ.ศ.2535
แล้วยังมีสัตว์ป่าอยู่
และไม่มาแจ้งคำขอครอบครองฯใหม่
ตาม พ.ร.บ.ฯ ใหม่
เมื่อปีที่แล้ว
ก็ยังใช้มาตรา 66 บังคับอยู่
แต่คงมีไม่เกิน 5 ราย
เนื่องจากไม่รู้เรื่อง
หรือแจ้งไว้และปัจจุบันไม่มีสัตว์ป่าครอบครองฯแล้ว |