สัตว์และพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย
ประเทศไทยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น
513,115 ตารางกิโลเมตร
ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางของเขตย่อย
คาบสมุทรอินโดจีน
ในอาณาเขตสัตว์ภูมิศาสตร์ Zoogeography
ด้านเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศอยู่บริเวณระหว่าง
มีระยะ
อาณาเขตโดยรอบของประเทศติดต่อกับหลายประเทศ
-
ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศพม่า
-
ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศแถบอินโดจีน
-
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ติดต่อกับประเทศลาว
-
ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้
ติดต่อกับประเทศกัมพูชา
-
ด้านทิศใต้ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย
ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น
5 บริเวณ ได้แก่
-
ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
เป็นบริเวณภูเขา
ซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศ
คือ ดอยอินทนนท์ มีความสูง 2,576
เมตรจากระดับน้ำทะเล
-
ตอนกลางของประเทศ เป็นบริเวณทุ่งราบเจ้าพระยา
บริเวณที่ราบสูงโคราช
-
ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้
เป็นเทือกเขา
บริเวณจังหวัดจันทบุรี
-
ด้านทิศตะวันออก และ
บริเวณภาคใต้ที่มีทะเลขนาบอยู่ทั้งสองด้าน
คืออ่าวไทยทางทิศตะวันออกและทะเลอันดามันทางทิศตะวันตก
ความหลากหลาย
พื้นที่ในประเทศไทยประกอบด้วยสภาพนิเวศธรรมชาติหลายหลากชนิด
นับตั้งแต่ป่าดงดิบและป่าสนเขาที่พบอยู่ทั่วไปบนพื้นที่สูงในจังหวัดภาคเหนือและบริเวณตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จนถึงป่าดงดิบชื้น
ป่าดงดิบแล้ง ป่าผลัดใบ
ป่าเต็งรัง
ตลอดจนไปถึงป่าดงดิบในที่ราบต่ำและป่าชายเลน
รวมทั้งแนวปะการังที่สมบูรณ์รอบบริเวณเกาะหลายแห่ง
สภาพธรรมชาติที่หลากหลายนี้เป็นที่อาศัยของพืชและสัตว์ที่มีคุณค่าที่ชุกชุมที่สุดและมีสภาพเป็นหนึ่งในโลก
ประเทศไทยเป็นจุดบรรจบของชนิดของพืชและสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากหลายบริเวณโดยรอบประเทศคือ
ชนิดที่มาจากอินโดจีน
อินเดีย พม่า และมาเลเซีย
จึงมีความหลากชนิดของสิ่งมีชีวิตสูง
ในปัจจุบันพบแล้วว่า
-
มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน
283 ชนิด
-
นกจำนวน 917 ชนิด
-
สัตว์เลื้อยคลานจำนวน
298 ชนิด
-
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน
107 ชนิด
-
ปลาจำนวน 1,500 ชนิด
-
พืชชั้นสูงจำนวนประมาณ
20,000-25,000 ชนิด
-
ชนิดของแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น
ๆ อีกนับเป็นพัน ๆ ชนิด
สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์
เนื่องจากความกดดันในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
ๆ ประเทศไทยก็เป็นดังเช่น
ประเทศที่กำลังพัฒนาอื่น ๆ
กำลังที่พยายามอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์เพื่อประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลัง
โดยการออกพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงหลานฉบับและการยกเลิกสัมปทานป่าบกทั่วประเทศบริเวณป่าที่เหลืออยู่จะได้รับการคุ้มครอง
ในรูปอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ในปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 10
% ของพื้นที่ประเทศได้รับการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์แล้ว
แต่ป่าชายเลนยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่ดังเดิมและการลักลอบตัดไม้ยังคงมีอยู่ในทุกภาคของประเทศ
สาเหตุที่สำคัญต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยคือการทำลายสภาพที่อยู่อาศัยและการล่าสัตว์ป่าอย่างหนักเพื่อการยังชีพและการค้า
พื้นที่ป่าครอบคลุมเนื้อที่ประเทศได้ลดจำนวนลงอย่างมากจากประมาณ
53 % ในปี พ.ศ.2504 เหลือเพียง 28 % ในปี
พ.ศ. 2531 อัตราการทำลายป่าในช่วงระหว่างปี
พ.ศ. 2528-2531 มีจำนวนสูงถึง
2,345.22 ตารางกิโลเมตรต่อปี
การทำไร่เลื่อนลอยและการตัดไม้ทำลายป่าอย่างผิดกฎหมายก่อให้เกิดภาวะอันไม่พึงประสงค์และเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างยิ่ง
ชาวเขาหลายเผ่าจำนวนประมาณ 500,000
คนที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาในประเทศได้แผ้วถางป่าโดยการทำการเกษตรดั้งเดิมแบบไร่เลื่อนลอย
ทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำซึ่งเป็นบริเวณกว้างขวางต้องสูญเสียไป
เมื่อมีการขนส่งและเครื่องมือตัดไม้ที่ทันสมัย
การแผ้วถางป่าจึงทำได้รวดเร็วขึ้น
และการบุกรุกเข้าเผาป่าของประชาชนผู้ยากไร้
ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ
พื้นที่อนุรักษ์รวมทั้งป่าสงวนแห่งชาติกำลังตกอยู่ภายใต้การใช้ที่ดินในแง่ทำลายเกือบทั่วประเทศ
นอกเหนือจากการทำไม้และการปลูกพืชแบบไร่เลื่อนลอยแล้ว
กิจกรรมการพัฒนาในหลายรูปแบบ
ตัวอย่างเช่นโครงการชลประทาน
และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ
โครงการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวเขาและชาวชนบทที่ถูกย้ายพื้นที่ออกจากเขตอนุรักษ์และเขตโครงการพัฒนา
การสร้างถนน
การสำรวจและขุดแร่ธาตุ
และการท่องเที่ยวที่กำลังได้รับการส่งเสริม
กิจกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อพื้นที่ป่าและการคงอยู่ของสัตว์ป่าอย่างยิ่ง
การลักลอบล่าสัตว์ป่าก็เป็นปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
การล่าสัตว์ป่าเพื่อการยังชีพยังมีอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้านใกล้ป่า
ถึงแม้ว่าการล่าสัตว์ป่าแบบนี้จะยังมีอันตรายต่อประชากรสัตว์ป่าไม่รุนแรงเท่าการล่าสัตว์เป็นการค้าแต่ก็ยากต่อการควบคุม
เพราะพรานป่ามีอาวุธที่ทันสมัยขึ้น
และบุคลากรที่จะควบคุมยังไม่เพียงพอ
จึงเป็นผลให้สัตว์ป่าจำนวนมากถูกล่าและบ่อยครั้งถูกฆ่าเป็นจำนวนมากเพื่อเอาหนัง
และอวัยวะส่วนอื่น
ๆที่มีคุณค่าทางการค้าการค้าสัตว์ป่าในระดับนานาชาติมีส่วนในการลดจำนวนประชากรของสัตว์หลายกลุ่ม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกลิง
นกสวยงาม
และสัตว์กินเนื้อบางชนิด
การควบคุมการค้าสัตว์ป่าของเจ้าหน้าที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า
กรมการป่าไม้ได้ทำให้การค้าสัตว์ป่าในประเทศลดลงอย่างยิ่ง
แต่ยังมีงานต้องทำอีกมากในการควบคุมการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศ
แนวทางในการเลือกชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
เนื่องจากในประเทศไทยมีพืชและสัตว์พื้นเมืองอยู่หลากหลายชนิด
และในแต่ละกลุ่มยังมีชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์อยู่เป็นจำนวนมาก
แต่ละชนิดมีสถานภาพทางการอนุรักษ์แตกต่างกัน
ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับชนิดเหล่านั้นยังมีค่อนข้างน้อย
ทำให้เป็นการยากที่จำกำหนดสถานภาพของชนิดใด
ๆ ลงไปได้อย่างแน่นอน
ว่าชนิดใดจะเป็นชนิดที่หายาก
ชนิดที่ง่ายต่อการถูกคุกคาม
ชนิดที่ยังไม่ทราบกันดี
หรือชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
ในบรรดาชนิดของนกนั้นเฉพาะนกประจำถิ่นเท่านั้นที่ได้การพิจารณา
เนื่องจากเป็นนกที่อยู่ถาวรในประเทศและน่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า
ด้วยปณิธานที่จำรวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ให้ได้จำนวนชนิดที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในพื้นที่ที่จำกัดจึงได้เลือกชนิดที่เป็นตัวแทนจากทุก
ๆ กลุ่มของพืชและสัตว์
จึงนับได้ว่าเป็นปริมาณที่เลือกมาเพียงไม่กี่ชนิดจากกลุ่มชนิดจำนวนมากที่อยู่ในสภาพที่ใกล้จะสูญพันธุ์
แนวทางที่ใช้ในการคัดเลือกชนิดที่จะนำมาเสนอในหนังสือจึงยึดถือลักษณะ
5 ข้อ ดังต่อไปนี้
ถ้าชนิดใดมีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวมากเพียงใด
จะมีโอกาสได้รับเลือกมากขึ้นเท่านั้น
1.
เป็นชนิดที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย
พืชและสัตว์ทุกชนิดที่พบอาศัยอยู่เฉพาะในประเทศไทย
จะได้รับการจัดลำดับความสำคัญในลำดับต้น
ๆและถือว่าเป็นชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ โดยเฉพาะชนิดที่พบอาศัยอยู่เฉพาะบนยอดเขาเพียงยอดเดียวหรือพบอยู่ในป่าเพียงไม่กี่บริเวณ
ในกรณีนี้การที่จะถูกทำลายให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย
ย่อมหมายความว่าชนิดนั้น ๆ
ได้หมดสิ้นไปจากโลกนี้ด้วย
2.
เป็นชนิดที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้เป็นชนิดที่ได้รับการคุ้มครองตาม
พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ. ประมง
พ.ศ.2504
เป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มตรองหรือได้รับการคุ้มครองในระดับนานาชาติโดยจัดเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในหนังสือปกสีแดงของ
สหพันธุระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
(IUCN) หรือจัดเป็นชนิดที่ควบคุมทางการค้าตามระบุไว้ในบัญชีที่
1 และบัญชีที่ 2 ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
(CITES) ชนิดใด
ๆที่ได้รับการคุ้มครองดังกล่าว
ได้รับการพิจารณาว่าเป็นชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
3.
เป็นชนิดที่ยอมรับในประเทศว่าเป็นชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
ผลงานในระยะหลังของผู้เชี่ยวชาญทางด้านสัตว์ป่าและนักอนุรักษ์ธรรมชาติในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทยได้
จัดทำบัญชีรายชื่อชนิดที่ชื่อว่าเป็นชนิดที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์
และชนิดที่มีจำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่าง เช่น ใน Bain และ
Humphrey (1980) ปราโมทย์ (2528) และ Brockelman
(1988) ชนิดที่ได้รับการเสนอดังกล่าว
จะได้รับการพิจารณาในรายละเอียดจากข้อมูลใหม่
ๆ
เพื่อพิสูจน์อัตราการใกล้จะสูญพันธุ์ที่แท้จริงก่อนการยอมรับเป็นเช่นนั้น
4.
เป็นชนิดที่ได้รับการจัดเป็นชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศใกล้เคียง
ชนิดที่ประเทศใกล้เคียงได้ประกาศออกมาแล้วว่าเป็นชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือเป็นชนิดที่ได้รัยการคุ้มครองอย่างเต็มที่ในแต่ละประเทศ
ในบริเวณเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งพบอาศัยอยู่ในประเทศไทย
จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นชนิดที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ไปด้วย
หากมีหลักฐานในประเทศไทยว่าเป็นเช่นนั้น
5.
รายงานพบชนิดในระยะหลัง
เมื่อตัดสินตามการพบเห็นชนิดหนึ่ง
ๆ ในระยะหลังภายในประเทศ
โดยชนิดนั้น ๆ
ไม่มีรายงานพบเลยในระยะ 10 ปีหลัง
หรือพบในบริเวณที่ต่ำมากเพียง
1-5
ครั้งในบริเวณไม่กี่แห่งจะถือว่าเป็นชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
|