•   มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่า
    สงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง

  • มาตรา 20 ห้ามมิให้ผู้ใดค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน ซากของ
    สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว

    มาตรา 47 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา19  มาตรา 20 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 23วรรคหนึ่ง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ


หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการปราบปราม และจับกุมผู้กระทำผิดในคดีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสัตว์ป่าก็คือ สำนักป้องกันและปราบปรามของกรมป่าไม้ มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและจับกุมผู้ค้า ผู้เลี้ยง และผู้ครอบครองสัตว์ป่า โดยอาศัยกฎหมายจากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ..2535 ในการตัดสินความผิดผู้กระทำการใดๆที่เป็นภัยต่อชีวิตของสัตว์ป่าคุ้มครอง
     แต่ด้วยกำลังคนน้อยดังที่กล่าวประกอบกับต้องสนับสนุนภารกิจต่าง ๆของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสำนักงานป่าไม้จังหวัด สำนักงานป่าไม้เขต ฯลฯ ทำให้การตรวจตราไม่ทั่วถึง งบประมาณต่างๆที่ได้รับมาก็มักจะน้อยลง จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานไม่เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น

 

            การค้าสัตว์ป่านั้นอาจจะแบ่งได้สองอย่างคือ ซากสัตว์และสัตว์มีชีวิต ประการหลังนี้มักจะเป็นลูกสัตว์เพราะต้องการนำไปขายให้กับผู้ชอบเลี้ยงสัตว์ การกระทำเพื่อให้ได้ลูกของสัตว์ป่ามา จำเป็นต้องฆ่าแม่มันก่อน จึงจะชิงหรือจับตัวลูกสัตว์นั้นมาได้ 
คิดหรือมองอย่างไร  ก็ไม่คุ้มกับผลเสียหายในทุกๆด้าน

            

            ความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งต่างๆในธรรมชาตินั้นซับซ้อนมาก การสูญเสียสัตว์ป่าเพียง 1 ตัวภายในกลุ่มประชากรไป ทำให้ความแข็งแรงของพันธุกรรมของสัตว์ชนิดนั้นมีน้อยลง โอกาสในการผสมพันธุ์ข้ามกลุ่มประชากรก็มีน้อยลง สัตว์ป่าและพันธุ์พืชทุกชนิดมีหน้าของมันที่จำเป็นต้องปฏิบัติ การสูญชนิดพันธุ์ใดชนิดพันธุ์หนึ่งไปจากธรรมชาติ หน้าที่นั้นๆก็จะบกพร่องลงไปด้วย ความอ่อนแอของระบบนิเวศก็จะเกิดขึ้น แต่จะมากจะน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าชนิดพันธุ์ที่สูญหายไปนั้นสำคัญแค่ไหน  การสูญเสียแมลงชนิดหนึ่งอาจจะทำให้ต้นไม้ใหญ่บางชนิดหายไปเลย เพราะต้นไม้และแมลงต่างก็ปรับตัวเพื่อกันและกันมานานแสนนาน หากเป็นกรณีเช่นนี้ก็นับว่าน่าเสียดายมากทีเดียว

            การนำสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าต่างถิ่นจากที่อื่น เข้าไปในถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าดั้งเดิมนั้น หากสัตว์เหล่านี้ปรับตัวได้ดีก็จะเกิดการแก่งแย่งอาหารกันในธรรมชาต ิทำให้สภาพแวดล้อมเดิมต้องถูกทำลายไป โรคระบาดอาจจะเกิดได้กับสัตว์ป่าเพราะสัตว์ต่างถิ่นจะเป็นพาหะนำโรค ที่ไม่เคยพบมาเผยแพร่ และเมื่อสัตว์ป่าดั้งเดิมติดเชื้อเข้าไป ก็จะมีอาการอย่างรุนแรงเพราะมันไม่มีภูมิคุ้มกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม

 

            สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถช่วยเหลือให้ขบวนการค้าสัตว์ป่านี้ลดลงได
้ ด้วยการต่อต้านและไม่ซื้อหาของป่าทุกชนิด ไม่กินอาหารหรือยาที่มีส่วนประกอบของสัตว์ป่าหวงห้าม
 พร้อมกับแจ้งเบาะแสของขบวนการเหล่านี้เพื่อตัดวงจรการค้าสัตว์ป่านี้ให้หมดไป
 แจ้งได้ที่กรมป่าไม้ หรือ สถานีตำรวจทุกแห่ง

แจ้งเบาะแส แหล่งค้าสัตว์ป่า กับ ส.ส.ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ