หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า
: สัตว์ป่าชนิดใดเหมาะสมที่จะทำการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์
การเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในเชิงพาณิชย์เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมานานมากในวงการอนุรักษ์สัตว์ป่า
จวบจนทุกวันนี้ก็ยังหาข้อยุติที่ชัดเจนร่วมกันในสังคมไม่ได้
เพราะฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสัตว์ป่าต้องอยู่ในป่า
มนุษย์ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือจัดการใด
ๆ
โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการหาประโยชน์จากสัตว์ป่า
ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าความความเห็นแรกก็ถูกต้องแต่เมื่อแหล่งกำเนิดของสัตว์ป่าเหล่านั้นถูกบุกรุกจนเหลือน้อยลงทุกวัน
ก็ควรที่จะต้องดำเนินการบางสิ่งบางอย่างลงไปรวมทั้งการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าด้วย
อย่างไรก็ตามกฏหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับแก้ไขใหม่ในปี
2535 ก็ได้ออกมาแล้วโดยเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งในการแก้ไขได้ระบุว่าเพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแต่ในทางปฏิบัติกลับปรากฏว่ายังมีปัญหาซ่อนอยู่มากมายที่ยังต้องถกเถียงหาข้อยุติ
ประเด็นข้อถกเถียงที่สำคัญประการหนึ่งในเรื่องดังกล่าวก็คือประเด็นที่ว่าจะนำหลักเกณฑ์ใดมาใช้ในการพิจารณาว่า
สัตว์ป่าชนิดใดสมควรที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้
ซึ่งได้มีการจัดประชุมสัมมนาร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
และองค์การเพื่อการอนุรักษ์ต่าง
ๆ มาแล้วหลายครั้งหลายโอกาส
แต่ก็ยังหาข้อยุติที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยสะดวกและชัดเจนไม่ได้
เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการพิจารณาสรรหาหลักเกณฑ์สำหรับจุดประสงค์ข้างต้น
จึงใคร่ขอนำเสนออีกแนวความคิดหนึ่งดังนี้ ก่อนอื่นควรจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าในเชิงพาณิชย์นั้น สำหรับสินค้าทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่สัตว์ป่าหรือพืชป่า ในการจะซื้อจะขายสินค้าจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ
ส่วนที่
1 อุปสงค์
หรือ Demand หมายถึงความต้องการซื้อสินค้านั้น
ๆ
ส่วนที่
2 อุปทาน
หรือ Supply
หมายถึงความสนองขายสินค้านั้น
ๆ
ให้แก่ผู้ต้องการซื้อหรืออาจหมายถึงตัวสินค้าที่จะนำมาขายให้แก่ผู้ต้องการซื้อนั่นเอง
จากองค์ประกอบสำคัญ 2
ส่วนแรกจะเห็นได้ว่าเมื่อมีผู้อยากได้หรือมีความต้องการซื้อสินค้า
(มีอุปสงค์หรือ Demand เกิดขึ้น)
ผู้ที่เห็นโอกาสที่จะได้กำไรก็จะพยายามจัดหาสินค้านั้น
ๆ มาขายให้ (สร้างอุปทานหรือ
Supply ให้เกิดขึ้น) โดยที่การจัดหาสินค้ามาขายให้นั้นอาจทำได้โดยบุคคลผู้นั้นดำเนินการผลิตเองหรือไปเอามาจากผู้ผลิตอื่นอีกทีหนึ่งซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวเอาจากธรรมชาติโดยตรงด้วย ซึ่ง การผลิต (Production)
หรือการจัดหาสินค้าดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นตัวแปรหรือองค์ประกอบที่สำคัญ
ส่วนที่ 3 ที่จะทำให้เกิดหรือไม่เกิดการขายได้ (เกิดหรือไม่เกิดอุปทาน)
จากองค์ประกอบ 3
ส่วนข้างต้นสามารถนำมาพิจารณาความสัมพันธ์ได้ตามตารางดังนี้
จะเห็นได้ว่าการขายจะเกิดขึ้นได้เพียงกรณีเดียวเท่านั้นคือ
เมื่อมีผู้ต้องการซื้อสินค้าและมีผู้ที่สามารถผลิตหรือจัดหาสินค้านั้นมาขายให้แก่ผู้ต้องการซื้อได้
จากกรณีสินค้าทั่วไปถ้าเปลี่ยนมาเป็นสินค้าที่เป็นสัตว์ป่าชนิดต่าง
ๆ
ในยุคปัจจุบันที่สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลายลงอย่างมากมาย
ดังที่ทราบกันอยู่
หากจะนำหลักการตลาดทั่ว ๆ
ไปข้างต้นมาใช้
ก็คงจะเท่ากับเป็นการเร่งให้สัตว์ป่าลดน้อยลงจนถึงขั้นสูญพันธุ์ไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เพราะคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีผู้ขายบางกลุ่มบางคนที่ใช้วิธีจัดหาสินค้าสัตว์ป่าเหล่านั้น
โดยการล่าออกมาจากป่าโดยตรง
แนวทางหนึ่งที่จะช่วยได้คือจะต้องนำประเด็น
ความหาง่าย / หายาก
หรือความใกล้สูญพันธุ์
ของสัตว์ป่าแต่ละชนิดเข้ามาพิจารณาประกอบอีกประเด็นหนึ่งเพื่อกลั่นกรองว่าสัตว์ป่าชนิดใดควรหรือไม่ควรให้ผลิตหรือเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้
ดังนั้นหลักเกณฑ์การพิจารณาว่าสัตว์ป่าชนิดใดควรหรือไม่ควรที่จำนำมาเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ตามแนวความคิดในบทความนี้ก็คือจะต้องพิจารณาจาก
องค์ประกอบหลัก 3
ประเด็น คือ:
ประเด็นที่ 1 มีความหาง่าย /
หายาก หรือมีความใกล้สูญพันธุ์เพียงใด
( Rare?) ความหมายของประเด็นนี้ครอบคลุมทั้งสัตว์ป่าที่ยังคงมีอยู่ในแหล่งกำเนิดเดิมและสัตว์ป่าที่อยู่ภายใต้การเพาะเลี้ยงหรือการจัดการชองมนุษย์
ทั้งนี้เพราะในภาวะปัจจุบันสภาพป่าหลาย
ๆ ประเภทในหลาย ๆ แห่งชองโลก
ได้ถูกทำลายลง
แต่การอนุรักษ์สัตว์ป่านั้นมีเป้าหมายที่จะดำรงชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าทุกชนิดในโลก
ให้คงอยู่ต่อไป
ดังนั้นแม้ว่าสภาพป่าบางประเภทที่เป็นแหล่งกำเนิดชองสัตว์ป่าบางชนิดจะถูกทำลายหมดไปจนทำให้สัตว์ป่าชนิดนั้น
ๆ
ต้องตกอยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธุ์หรือหายากเข้าทุกขณะก็ตาม
ก็มิใช่
จะสรุปเอาว่าห้ามไปเตะต้องหรือจัดการใด
ๆ
รวมถึงห้ามนำมาเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์
ในทางตรงกันข้ามกลับจะต้องเร่งค้นคว้าหาทางขยายพันธุ์ต่อไปให้เร็วที่สุดเพราะสัตว์ป่าไม่ใช่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่จะอนุรักษ์ได้โดยเก็บไว้เฉย
ๆ
แต่สัตว์ป่ามีอายุขัยและวัยเจริญพันธุ์ซึ่งถ้าตัวของมันเองตายไปหรือผ่านช่วงวัยเจริญพันธุ์ดังกล่าวนี้ไปแล้วก็จะไม่มีโอกาสขยายพันธุ์ของมันได้อีกต่อไป
จนอาจถึงขั้นสูญพันธุ์ได้ในทีสุด
ประเด็นที่ 2 มีอุปสงค์หรือมีความต้องการซื้อหรือไม่เพียงใด
( Demand? ) ความหมายของประเด็นนี้คือการพิจารณาว่าจะมีตลาดรองรับสัตว์ป่าแต่ละชนิดที่สามารถเพราะเลี้ยงขึ้นมาได้มาหรือน้อยเพียงใด
ประเด็นที่ 3 ผลิตได้หรือไม่เพียงใด
(Production?) ความหมายของการผลิตในประเด็นนี้
ก็คือความสามารถในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าชนิดนั้น
ๆ ได้อย่างสม่ำเสมอเป็นปกติ
โดยจะต้องพิสูจน์ได้ว่าใครก็ตามที่สนใจที่จะเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าชนิดนั้น
ๆ
โดยใช้วิธีเดียวกันนั้นก็สามารถจะประสบผลสำเร็จได้เข่นเดียวกัน
สำหรับกรณีที่สัตว์ป่าบางชนิดที่เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้โดยยากแต่มีผู้เพาะเลี้ยงบางคนสามารถทำได้เป็นผลสำเร็จเป็นบางครั้งบางคราวเป็นเฉพาะบางกรณี
เช่นนี้ต้องถือว่ายังผลิตไม่ได้จริงเป็นแต่เพียงอยู่ในขั้นการค้นคว้าหาทางผลิตเท่านั้น
นอกจากนั้นความหมายของการผลิตในประเด็นนี้ยังครอบคลุมถึงความรู้ในเชิงชีววิทยาของสัตว์ป่าและโภชนาการของสัตว์ป่า
ความสามารถในการปรับตัวของสัตว์ป่าในสถานเพาะเลี้ยงตลอดจนการคุ้มทุนต่อการผลิตด้วย
จากองค์ประกอบหลัก 3 ประเด็นคือ Rare ? , Demand ? และ Production
? ที่ได้นำเสนอมาให้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสัตว์ป่าชนิดใดควรหรือไม่ควรที่จะให้นำมาเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ข้างต้น
หากนำมาจัดลำดับเงื่อนไขแห่งความสัมพันธ์ก็จะสามารถนำมาพิจารณาแนวทางปฏิบัติอันควรเป็นได้
8 กรณี ดังนี้
:
จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบหลัก
3
ประเด็นที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสัตว์ป่าชนิดใดควรหรือไม่ควรที่จะทำให้การเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้นั้นสามารถนำมาจัดลำดับเงื่อนไขแห่งความสัมพันธ์ได้เพียง
8 กรณี
ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้ในการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวนี้ได้โดยง่ายเพราะแต่ละกรณีจะมีแนวทางปฏิบัติอันควรจะเป็น(ตามที่ระบุไว้ในตารางข้างต้น
) ที่แตกต่างกันซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการจัดการและการอนุรักษ์ตลอดจนการวางระเบียบปฏิบัติหรือกฏหมายข้อบังคับที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมกับสถานภาพของสัตว์ป่าชนิดต่าง
ๆ ในแต่ละกรณี (มิใช่เป็นไปในลักษณะเหวี่ยงแหครอบคลุมสัตว์ป่าทุกชนิดให้อยู่ภายใต้ฐานความคิดและแนวทางการจัดการอย่างเดียวกันทั้งหมดอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน)
และมีเพียง 2
กรณี คือ
สัตว์ป่าที่มีสถานภาพเป็นไปตามเงื่อนไชของกรณีที่ 1 และกรณีที่ 5
เท่านั้นที่สมควรจะให้ทำการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ได้
จากทั้ง 8
กรณีดังกล่าว
อาจแยกพิจารณาในรายละเอียดได้เป็น
2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1
ได้แก่กรณีที่ 1, 2, 5 และ
6
เป็นกลุ่มที่มีเงื่อนไขร่วมกันในประเด็น
มีความต้องการซื้อ
(มีอุปสงค์)
สัตว์ป่าที่มีสถานภาพอยู่ใน
4 กรณีนี้
ล้วนแต่เป็นที่ต้องการชองตลาดหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นที่ต้องการของมนุษย์ได้เพื่อจุดประสงค์ใดก็จุดประสงค์หนึ่งแต่การจะสนองความต้องการได้หรือไม่นั้นจะต้องแยกพิจารณาเพื่อการกำหนดมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติอันควรจะเป็นอย่างรอบคอบในแต่ละกรณีดังนี้ 1.
กรณีที่ 1
หาง่าย มีความต้องการซื้อ
ผลิตได้ สัตว์ป่าในกรณีนี้ในธรรมชาติมีมากอยู่แล้วและยังสามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้
เมื่อมี ความต้องการซื้อก็ควรจะเปิดให้มีการเพาะเลี้ยงได้โดยทั่วไป
และให้ซื้อขายได้โดยไม่มีข้อจำกัด
ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์ป่าชนิดนั้น
ๆ
อีกด้วยตัวอย่างของสัตว์ป่าในกรณีนี้ได้แก่
นกเขาใหญ่ นกเขาชวา เป็นต้น 2.
กรณีที่
2 หาง่าย
มีความต้องการซื้อ
ผลิตไม่ได้ เงื่อนไขของกรณีนี้คล้ายกับกรณีที่
1
แต่แตกต่างกันที่ยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้
ดัง นั้นแม้ว่าจะมีอยู่มากในธรรมชาติ
แต่หากปล่อยให้มีการซื้อขาย
แน่นอนว่าผู้ขายต้องไปจับหรือล่าเอามาจากธรรมชาติโดยตรงเพื่อนำมาป้อนตลาด
นานเข้าก็คงจะค่อย ๆ
ลดน้อยลงจนหมดไป
ฉะนั้นแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีนี้จึงควรห้ามไม่ให้มีการซื้อขายหรือนำไปเพื่อจุดประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเพาะพันธุ์
ขณะเดียวกันควรเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผู้สนใจพยายามเพาะเลี้ยงเพื่อค้นคว้าหาทางผลิตด้วย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของสัตว์ป่าในกรณีนี้ได้แก่นกกระจาบซึ่งเมื่อประมาณ
30 ปี
ที่แล้วมีอยู่มากมาย
แต่เมื่อมีความต้องการซื้อสูงโดยที่ผลิตไม่ได้
ณ
วันนี้นกกระจาบจึงกลายเป็นสัตว์ป่าที่หายากไปแล้ว 3.
กรณีที่ 5 หายาก มีความต้องการซื้อ ผลิตได้ เงื่อนไขของกรณีนี้เกือบเหมือนกับกรณีที่
1
แต่สัตว์ป่าในกรณีนี้มีอยู่น้อยในธรรมชาติและบาง ชนิดก็กำลังตกอยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธุ์
แต่ในเมื่อสามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์หรือผลิตได้และมีตลาดรองรับ
ก็ควรจะต้องสนับสนุนให้มีการผลิตและผลักดันเช้าสู่ระบบตลาด
ซึ่งผลสุดท้ายสัตว์ป่าที่หายากเหล่านี้ก็จะค่อย
ๆ
เพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วยกลไกของอุปสงค์
อุปทาน
อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตามแนวทางนี้จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของภาครัฐให้มีการซื้อขายได้เฉพาะสัตว์ป่าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเท่านั้น
ตัวอย่างของสัตว์ป่าในกรณีนี้ได้แก่
นกยูง นกหว้า ไก่จุก
ไก่ฟ้าเกือบทุกชนิด กวางป่า
เนื้อทราย เก้ง กระจง
เสือโคร่ง เป็นต้น
นอกจากนั้นการรักษาถิ่นกำเนิดและถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าเหล่านี้ก็ยังคงจะต้องให้ความสำคัญอย่างละทิ้งไม่ได้เช่นกัน 4.
กรณีที่ 6
หายาก มีความต้องการซื้อ
ผลิตไม่ได้ สัตว์ป่าในกรณีนี้เป็นสัตว์ป่าที่มีอยู่น้อยมากในธรรมชาติ เช่นเดียวกับกรณีที่ 5 แม้ว่าจะมีความต้องการซื้อ (อุปสงค์) แต่ในเมื่อยังผลิตไม่ได้ ก็ย่อมจะหาสินค้ามาป้อนตลาด (สร้างอุปทาน) ไม่ได้ เว้นแต่จะไปล่าจากป่ามาขาย ฉะนั้นแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีนี้ก็คือ ต้องห้ามไม่ให้มีการซื้อขายอย่างเด็ดขาด มีการป้องกันและปราบปรามตลอดจนการกำหนดโทษที่รุนแรงต่อผู้กระทำผิด ในขณะเดียวกันก็จะต้องรักษาถิ่นกำเนิดของสัตว์ป่าเหล่านี้ให้ดีที่สุด แต่ก็ควรเปิดโอกาสให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผู้สนใจร่วมกันค้นคว้าหาทางผลิต สัตว์ป่าในกรณีได้แก่ นกเงือกทุกชนิด หมีทุกชนิด กระรอกบางชนิด แรด กระซู่ เลียงผา ผีเสื้อสมิงเชียงดาวเป็นต้น กลุ่มที่ 2 ได้แก่กรณีที่ 3, 4, 7
และ 8
เป็นกลุ่มที่มีเงื่อนไขร่วมกันในประเด็น
ไม่มีความต้องการซื้อ(ไม่อุปสงค์) แม้ว่าในตารางข้างต้นจะได้กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติอันควรจะเป็นของทั้ง 4 กรณีนี้ ซึ่งได้พิจารณากำหนดขึ้นตามเหตุผลอันพึงเป็นแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากเหตุที่มาของการ ไม่มีความต้องการซื้อ (ไม่มีอุปสงค์) ดังกล่าวมาจากการที่ไม่มีผู้ใดสนใจหรือต้องการที่จะนำสัตว์ป่าใน 4 กรณี เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์อันใด ดังนั้นแนวทางปฏิบัติอันควรจะเป็นจึงคงต้องตกเป็นหน้าที่ของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ โดยต้องเน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ถิ่นกำเนิดซึ่งก็คือการอนุรักษ์ป่าส่วนที่เหลืออยู่ในปัจจุบันให้ดีที่สุด นอกจากนั้นยังอาจจำเป็นจะต้องรับภาระและยอมใช้จ่ายงบประมาณบางส่วนในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าบางชนิดที่มีสถานภาพอยู่ในกรณีที่ 7 และ 8 คือสัตว์ป่าที่อยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธุ์แต่ไม่อยู่ในความสนใจของประชาชนหรือไม่มีตลาดรองรับนั่นเอง ซึ่งได้แก่ ปูน้ำจืดบางชนิด กบป่าบางชนิด หนูป่าบางชนิด เป็นต้น
ข้อสังเกตในทางปฏิบัติ
ในทางปฏิบัติจะต้องมีการพิจารณากำหนดและเปลี่ยนแปลงชนิดของสัตว์ป่าลงในแต่ละกรณี
เงื่อนไข
ในแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสมให้ทันต่อสถานภาพการคงอยู่ของสัตว์ป่าแต่ละชนิดที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
ซึ่งอาจเป็นไปในรูปของการพิจารณากำหนดโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีประสบการณ์ในช่วงเวลาทุก
ๆ 1 2 ปี เป็นต้น ในการกำหนดชนิดของสัตว์ป่าลงในแต่ละกรณีเงื่อนไขนั้น อาจพิจารณากำหนดได้ไม่ยากนักสำหรับกรณีที่ 1,2,5 และ 6 (ในกลุ่มที่ 1) เพราะเป็นชนิดของสัตว์ป่าที่มีผู้สนใจหรือต้องการใช้ประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว จึงย่อมต้องรู้จักชนิดของสัตว์ป่านั้น ๆ อยู่แล้วว่าชนิดใดหายากหรือหาง่ายและชนิดใดสามารถผลิตได้หรือไม่เพียงใด แต่ในส่วนของกรณีที่ 3,4,7 และ 8 (ในกลุ่มที่ 2) เนื่องจากไม่มีผู้ใดสนใจสัตว์ป่าในกลุ่มนี้จึงทำให้ขาดข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ป่าเหล่านี้ อาจไม่ทราบแม้กระทั่งว่าปัจจุบันชนิดใดมีสถานภาพใกล้จะสูญพันธุ์แล้วหรือไม่อย่างไร และอีกหลาย ๆ ชนิดก็อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักหรือยังไม่ถูกค้นพบมาก่อนเลยก็เป็นได้ เข่น สัตว์จำพวกแมลงบางชนิด สัตว์น้ำหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำบางชนิด สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด เป็นต้น (ตัวอย่างเช่น ปูน้ำจืด 2 3 ชนิด ที่เพิ่งถูกค้นพบใหม่ในช่วงทศวรรษนี้) การขาดข้อมูลดังกล่าวในทางปฏิบัติจึงอาจจำเป็นต้องนำทั้ง 4 กรณีในกลุ่มที่ 2 (ซึ่งก็คือสัตว์ป่าทุกชนิดที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกรณีที่ 1,2,5 และ 6 ) มารวมกันไว้เป็นกรณีเดียวกัน แล้วจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติอันควรจะเป็นให้เป็นกลาง ๆ คือรักษาป่าหรือสภาพแวดล้อมเดิมซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของสัตว์ป่าอีกหลาย ๆ ชนิดที่เรายังไม่เห็นประโยชน์ในวันนี้นั้นให้ดีที่สุด และควรเปิดโอกาสให้ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าหรือพัฒนาการผลิตสัตว์ป่าในกลุ่มนี้โดยเสรี
เมื่อวิเคราะห์แนวทางและปัญหาในการปฏิบัติมาถึงจุดนี้
จะเห็นได้ว่าจาก 8
กรณีเงื่อนไขข้างต้น
ได้ถูกลดลงเหลือเพียง 5 กรณี
อันจะยิ่งทำให้ง่ายต่อการพิจารณาว่าสัตว์ป่าชนิดใดควรหรือไม่ควรที่จะให้เพาะเลี้ยงในเขิงพาณิชย์ตลอดจนง่ายต่อการพิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติอันควรจะเป็นสำหรับสัตว์ป่าแต่ละชนิดด้วย อนึ่งเกณฑ์การพิจารณาว่าสัตว์ป่าชนิดใดควรหรือไม่ควรที่จะให้เพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ตามที่ได้เคยมีการประชุมสัมมนาเพื่อพยายามแยกแยะออกมาเป็นประเด็นต่าง ๆ มากมายนั้นล้วนเป็นประเด็นย่อยขององค์ประกอบหลัก 3 ประเด็นที่นำเสนอนี้ทั้งสิ้น แต่หากพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์แห่งเงื่อนไขความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งสามนี้แล้วเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้เกิดความสะดวกและชัดเจนในการพิจารณา ข้อสำคัญคือจะช่วยลดระยะเวลาในการถกเถียงหาข้อยุติ ซึ่งทุก ๆ วินาทีมีผลต่ออายุขัยและวัยเจริญพันธุ์ของสัตว์ป่าทุกชนิดทั้งสิ้น โดยเฉพาะกับสัตว์ป่าที่อยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธุ์ โดย ฉัตรชัย วิบูลย์รณรงค์
|