โดยมากแล้วสัตว์ที่เราจะพบเห็นในโป่งจะเป็นสัตว์ป่าที่กินพืชเป็นอาหาร
เนื่องจากในพืชที่สัตว์กินประจำนั้นมีแร่ธาตุบางอย่างไม่เพียงพอ
อาทิ โซเดียมและแคลเซียม
หรือบางช่วงเวลาสัตว์กินพืชเหล่านี้ก็ต้องการแร่ธาตุบางอย่างเพิ่มมากกว่าปกติอย่างเช่น
เมื่อกวางตัวเมียทีตั้งครรภ์หรือกวางตัวผู้กำลังมีเขาอ่อน
สัตว์เหล่านี้จึงจำเป็นต้องหาแร่ธาตุจากแหล่งอื่นมาทดแทน
โดยเฉพาะจากดิน
สภาพพื้นที่แต่ละแห่งนั้นมีองค์ประกอบแตกต่างกัน
สัตว์จะรู้เองว่าบริเวณใดมีแร่ที่มันต้องการ
ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้จะสะสมอยู่ในดิน
สัตว์ป่าจำเป็นต้องกินดินเหล่านั้นเข้าไปเพื่อเอาแร่ธาตุที่สะสมอยู่
ด้วยเหตุนี้เราจึงทราบได้ว่าบริเวณใดที่มีแร่ธาตุที่สัตว์ต้องการสะสมอยู่
มีโอกาสที่จะเกิดเป็นโป่งได้ทุกๆที่
แต่เราจะเรียกบริเวณนั้นๆว่าโป่งก็ต่อเมื่อมีสัตว์ป่าเข้ามาใช้ประโยชน์แล้วเท่านั้น
ตามปกติพื้นที่ที่สัตว์ขนาดเล็กำม่สามารถเอาแร่ธาตุในดินมากินได้เพราะดินแข็งเกินไป
ช้างป่าจะเป็นตัวการสำคัญในการเปิดพื้นที่โดยการใช้งาแทงหรือเท้าเตะให้ดินแตกแล้วจึงกินดินนั้น
สัตว์ที่เล็กกว่าก็จะค่อยๆทยอยเข้ามาใช้
จึงมักกล่าวถึงกันอยู่เสมอว่า
ช้างสร้างโป่ง
แต่โป่งจะใหญ่ขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่ามีแร่ธาตุที่สัตว์ต้องการมากเพียงใด
และมีสัตว์ป่ามากแค่ไหน สามารถแบ่งโป่งออกได้เป็น
2 ประเภทใหญ่ๆคือ
โป่งดินและโป่งน้ำ
โดยสังเกตว่าโป่งนั้นมีน้ำหรือมีดินแห้งๆ
สำหรับโป่งน้ำแร่ธาตุจะละลายอยู่ในน้ำสัตว์จะรับแร่ธาตุนั้นพร้อมกับน้ำที่ดื่มเข้าไปแต่ถ้าหากแบ่งตามลักษณะการเกิดแล้วสามารถแบ่งได้
3
ประเภทโดยมีลักษณะของภูมิประเทศเป็นตัวกำหนด
1.โป่งที่เกิดบริเวณพื้นที่ลาดชันไม่มากนัก
(ประมาณ 15
เปอร์เซ็น) แร่ธาตุต่างๆที่สัตว์ต้องการจะซึมผ่านดินลงมาสะสมอยู่ด้านล่างของพื้นที่
สัตว์ป่าที่จะเข้ามากินดินบริเวณนี้
โดยส่วนใหญ่แล้วโป่งที่เกิดในลักษณะนี้มักจะเป็นโป่งดิน
เช่นโป่งหนองผักชี
ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
2. บริเวณที่สภาพภูมิประเทศเป็นแอ่งหรือหุบเขา
แร่ธาตุต่างๆจะมาสะสมอยู่ตามแอ่งหรือร่องเขาซึ่งเป็นที่ต่ำมักเกิดอยู่ตามริมลำห้วยเพราะเป็นส่วนที่ต่ำสุดของบริเวณนั้น
แต่โป่งแบบนี้ก็เป็นได้ทั้งโป่งดินและโป่งน้ำ
3.โป่งแบบสุดท้ายจะเกิดบริเวณจุดหักของลำห้วย
ซึ่งเป็นที่ซึ่งกระแสน้ำพัดเอาดินตะกอนที่มีแร่ธาตุมาสะสมเอาไว้เป็นเวลานานและมากพอที่สัตว์ป่าจะใช้ประโยชน์ได้
นอกจากสัตว์กินพืชหลายชนิดอย่างเช่น
ช้าง กระทิง วัวแดงสมเสร็จ
กวาง เก้ง
จนกระทั้งนกหลายชนิดอย่างนกแก้ว
นกเขาเปล้า
ยังมีสัตว์ที่ใช้ประโยชน์จากโป่งอีกรูปแบบหนึ่งคือสัตว์ผู้ล่า
เช่นเสือและหมาไน
มันจะคอยล่าสัตว์ที่ลงมากินโปร่งอีกทีหนึ่ง
เพราะเป็นแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยเหยื่อและมันก็จะได้รับแร่ธาตุเหล่านั้นผ่านเนื้อของสัตว์กินพืชที่มันกินเนื้อเป็ฯอาหารโดยที่มันไม่ต้องกินดินโป่ง
นับว่าเป็นการถ่ายทอดพลังงานและแร่ธาตุตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
แต่ทว่าบทบาทของสัตว์ผู้ล่าเหล่านี้กลับถูกลอกเลียนแบบจากพรานนักล่าสัตว์ที่มักจะดักรอยิงสัตว์ที่เข้ามาลงโป่ง
ทำให้สัตว์กินพืชและสัตว์เนื้อกลายเป็นผู้ถูกล่าไปเสียทั้งหมด
และร่องรอยของการขัดห้างดักยิงสัตว์นี้จะพอๆกับร่องรอยของสัตว์ป่าในบริเวณโป่งแม้โป่งนั้นจะอยู่ในเขตอนุรักษ์ก็ตาม
เชื่อว่าในอีกไม่ช้าโป่งหลายๆแห่งจะกลายเป็น
โป่งร้าง แน่นอน
|