การทำเครื่องหมายระบุสัตว์ป่าผนวกกับเงื่อนไขเวลา
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า
การทำเครื่องหมายระบุสัตว์ป่า
เป็นพัฒนาการมาจากการทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์เพื่อประโยชน์ในทางปศุสัตว์ทั้งสิ้น อันได้แก่
เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของในสัตว์ตัวนั้น
ๆ เพื่อกำกับควบคุมสายพันธุ์
เพื่อป้องกันการลักขโมยตัวสัตว์
เพื่อเป็นเครื่องหมายในการนับจำนวนหรือเก็บข้อมูลทางสถิติต่าง
ๆ ในสัตว์ชนิดนั้น ๆ เป็นต้น วิธีการในการทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ได้แก่ :
ประโยชน์ของการทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่านั้น
ที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมิให้มีการนำสัตว์ป่าออกมาจากป่ามาสวมรอยปะปนกับสัตว์ป่าในกระบวนการเพาะเลี้ยงประการหนึ่ง
และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับจำนวนและสถานภาพของสัตว์ป่าแต่ละชนิดที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยงอีกประการหนึ่ง
ส่วนประโยชน์อื่น ๆ
นอกเหนือจากนี้ล้วนเป็นประโยชน์ในเชิงปศุสัตว์เสียมากกว่าในเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่า ในการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่านั้น สัตว์ป่าชุดแรกสุดที่นำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์นั้นแน่นอนว่าจะต้องมาจากป่าโดยตรง ดังนั้นขั้นตอนแรกที่จะต้องหาวิธีการควบคุมก็คือจะควบคุมอย่างไรให้นำเพียงสัตว์ป่าที่เลี้ยงหรือมีอยู่เดิมเท่านั่นมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์โดยไม่ให้มีการไปจับสัตว์ป่าตัวใหม่ออกมาจากป่าเพื่อไข้เป็นพ่อแม่พันธุ์อีกโดยไม่จำเป็น และต่อมาเมื่อสัตว์ป่าเหล่านั้นผสมพันธุ์ได้ลูกออกมาก็จะต้องหาวิธีการควบคุมในขั้นตอนที่สองว่าจะควบคุมอย่างไรไม่ให้มีการจับสัตว์ป่าออกมาจากป่ามาสวมรอยปะปนว่าเป็นสัตว์ป่าที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงด้วย
จากความจำเป็นในการที่จะต้องหาวิธีการในการควบคุมทั้งสองขั้นตอนข้างต้นสามารถนำมากำหนดหลักการและวิธีการในการควบคุม
โดยใช้การทำเครื่องหมายระบุสัตว์ป่าผนวกกับเงื่อนไขเวลา
ตามรายละเอียด ดังนี้ : 1.
กำหนดช่วงระยะเวลาในการควบคุมสัตว์ป่าในกระบวนการเพาะเลี้ยงออกเป็น
2 ช่วงเวลา ดังนี้ : 1.1
ช่วงเวลาแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าที่เลี้ยงอยู่เดิม
หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ที่กฎหมายมีผลบังคับไข้ประชาชนต้องแจ้งการครอบครองในสัตว์ป่าที่เลี้ยงหรือมีอยู่เดิมครอบคลุมระยะเวลาไปจนถึงกระบวนการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ของภาครัฐจนถึงการทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าแต่ละตัวจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทั้งหมด
โดยต้องกำหนดระยะเวลาไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป
แต่ไม่ควรเกินกว่า 1 รอบฤดูผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าทั่ว
ๆ ไป คือโดยเฉลี่ย 1 ปี
เป็นต้น (หากเป็นไปได้ควรยกเลิกการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าตามกฎกระทรวงฉบับที่
1 พ.ศ. 2537 ออกตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ. 2535 เสียทั้งหมด
แล้วเริ่มดำเนินการใหม่
เพราะนับแต่ประชาชนได้แจ้งการครอบครองจนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของภาครัฐก็ยังมิได้ตรวจสอบหรือดำเนินการใด
ๆ ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแต่อย่างใด
ซึ่งเวลาที่ผ่านไปนี้ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งการเกิดและตายในสัตว์ป่าที่แจ้งไว้แต่ละชนิดจนไม่สามารถจะใช้ข้อมูลที่แจ้งไว้นั้นมาตรวจสอบหรือดำเนินการใด
ๆ ได้อีกแล้ว) 1.2
ช่วงเวลาหลังจากกระบวนการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าที่เลี้ยงอยู่เดิมเสร็จสิ้นแล้ว
หมายถึงช่วงเวลาหลังจากช่วงเวลาในข้อ
1.1
2.
การทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าในช่วงเวลาตามข้อ
1.1 และ 1.2 ควรต้องเป็นคนละวิธีกัน หรือวิธีเดียวกันแต่ให้มีรายละเอียดในการสังเกตที่แตกต่างกันสำหรับสัตว์ป่าชนิดเดียวกัน
เพื่อที่จะสามารถแยกสัตว์ป่าพ่อแม่พันธุ์ชุดแรกที่มาจากป่าโดยตรงและสัตว์ป่าที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงได้อย่างเด่นชัด ดังนี้ : 2.1
ในช่วงเวลาเริ่มต้น (ตามข้อ 1.1) ต้องถือสมมุติฐานว่าสัตว์ป่าที่เลี้ยงหรือมีอยู่เดิมทั้งหมดนั้นเป็นสัตว์ป่าที่ได้มาจากป่าโดยตรง
แล้วจึงทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าด้วยวิธีการอย่างหนึ่ง
เช่น
ใช้วิธีใส่กำไลหนีบสำหรับไก่ฟ้าต่าง
ๆ ที่โตเต็มที่แล้ว
หรือใช้วิธีติดเบอร์หรือวิธีใช้ตำหนิสำหรับจระเข้ขนาดใหญ่
เป็นต้น 2.2
ในช่วงเวลาหลังจากนั้น
(ตามข้อ 1.2 ) หากมีสัตว์ป่าชนิดเดียวกันนั้นขึ้นมาอีกในสถานเพาะเลี้ยงแห่งนั้น
ก็แสดงว่าจะต้องเป็นลูกที่เกิดขึ้นมาใหม่จากการเพาะเลี้ยงหรือ
เป็นสัตว์ป่าตัวใหม่ที่เพิ่งถูกล่าออกมาจากป่า
ฉะนั้น
การทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าตามข้อ
2.2 นี้
จึงควรเป็นวิธีการที่สามารถทำได้เฉพาะเมื่อสัตว์ป่านั้นยังมีขนาดเล็กและเป็นคนละวิธีกับข้อ
2.1
เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีการจับสัตว์ป่าตัวใหม่ออกมาจากป่า
ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่มาสวมรอยทำเครื่องหมายแบบเดียวกันนั้นได้
เช่น
ใช้วิธีใส่กำไลสวมสำหรับลูกไก่ฟ้าต่าง
ๆ
หรือใช้วิธีตัดเกล็ดหางสำหรับลูกจระเข้ขนาดเล็ก
ๆ เป็นต้น 3.
หลังจากการทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าตามข้อ
2.1 และ
2.2 แล้ว
หากปรากฏว่ามีสัตว์ป่าตัวใดในสถานเพาะเลี้ยงของเอกชนที่ไม่มีเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าต้องถือว่าสัตว์ป่าตัวนั้นได้ถูกครอบครองโดยผิดกฎหมาย
ซึ่งจะต้องกำหนดบทลงโทษไว้ด้วย กระบวนการข้างต้น เป็นเพียงหลักการในการทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ป่าผนวกกับเงื่อนไขเวลาเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าไม้ให้มีการนำสัตว์ป่าตัวใหม่ ๆ ออกมาจากป่ามาสวมรอยปะปนกับสัตว์ป่าในกระบวนการเพาะเลี้ยง ส่วนรายละเอียดและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับสัตว์ป่าแต่ละชนิดในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นเรื่องที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบสามารถจะศึกษาและพิจารณาเลือกนำมาไข้ได้ตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละกรณี
โดย ฉัตรชัย วิบูลย์รณรงค์
|