|
||
Leopard or Panther
ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera pardus Linnaeus ขนาด
หัวถึงลำตัว
107 - 129
เซนติเมตร รูปร่างลักษณะ คนมักเข้าใจผิดว่าเสือดาวกับเสือดำเป็นเสือต่างชนิดกัน จริงๆแล้วเป็นเสือชนิดเดียวกัน ในลูกเสือครอกเดียวกันมีได้ทั้งเสือดำและเสือดาว เสือดาวมีลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเหลืองและมีลายจุดสีดำเป็นจำนวนมาก
ลักษณะลายเป็นจุดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มดอก
ปรากฏเฉพาะบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัว
ส่วนที่หัว ขา เท้า
และใต้ท้อง
เป็นจุดสีดำโดดๆ
ส่วนขนใต้ท้องเป็นสีขาวหรือสีเทา การกกระจายประชากร นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เสือดาวกินเหยื่อทุกชนิดที่จับได้
เช่น หมู
กวาง ลิง
นกยูง
และหมา
มันจะดักคอยเหยื่ออยู่บนต้นไม้และหลังจากฆ่าเหยื่อแล้ว
จะลากเหยื่อกลับขึ้นไปกินบนต้นไม้
เพื่อป้องกันสัตว์กินซากมาแย่งอาหาร
เสือดาวเริ่มกินเหยื่อที่บริเวณท้องก่อน
ในขณะที่เสือโคร่งเริ่มกินที่สะโพกก่อน อาหารของเสือดาวนอกจากสัตว์กินพืชจำพวกเก้ง กวาง แล้วมันยังล่าเหยื่ออื่นๆอีกเช่น กระต่าย นกยุงชะมด หรือแม้แต่สัตว์เล็กๆมันก็กินเช่นงู กิ้งก่า เป็นต้น เรียกได้ว่าเสือดาวกินสัตว์ทุกชนิดที่ล่าได้ การล่าของเสือดาวจะคล้ายกับเสือโคร่งคือ การไล่ล่าโดยตรง การซุ่มดักเหลื่อ แต่จะแตกต่างไปบ้างก็ตรงที่มันอาจจะขึ้นไปพรางตัวสงบนิ่งอยู่บนต้นไม้ เพื่อรอคอยตะครุบเหลื่อที่ผ่านเข้ามาใกล้ เมื่อล่าเหยื่อได้มันจะกินบริเวณท้องและซี่โคร่งก่อน ต่างจากเสือโคร่งที่จะเริ่มกินเหยื่อบริเวณสะโพกก่อน คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล ได้เขียนในบทนำของนิยายเรื่อง เดชเสือดาว ว่าเสือดาวมีความฉลาดและนิสัยระแวดระวังภัยมากกว่าเสือโคร่ง เวลาที่มันจะเข้าไปกินซากที่มันกินเหลือไว้จากคืนก่อน มันมักจะแอบดูเหตุการณ์อยู่นาน จนแน่ใจว่าไม่มีใครแอบซุ่มนั่งห้างคอยดักยิงมันอยู่ มันจึงจะค่อย ๆแอบเข้าไปกินซาก ไม่เหมือนกับเสือโคร่งที่มักเดินเข้าไปอย่างสง่าฝ่าเผย ศัตรูของเสือดาวก็คือเสือโคร่งนั่นเองที่มักมาแย่งอาหารของมันบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีพวกหมาจิ้งจอกและหมาในที่มักเข้ามาแย่งซากสัตว์ของมันเช่นกัน เสือดาวจะมีพื้นที่ในการหากินประมาณ 27 37 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะออกหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อน ปัจจุบันสถานภาพของเสือดาวในประเทศไทยมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก เหลืออยู่ตามป่าอนุรักษ์ต่าง ๆ เช่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเขาสก ประมาณ 500 ตัวเท่านั้นเอง
เสือดาวชอบอยู่สันโดษ จะจับคู่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ตั้งครรภ์ประมาณ 90-100 วัน ออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว และมีอายุในสภาพกักขังประมาณ 20 ปี
Copyright © 1999 by Navaphol.
All rights reserved. |
เสือดาวมีอายุประมาณ
20 ปี |
|
ถิ่นอาศัยของเสือดาวนั้น พบได้ในแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก ประเทศไทย มาเลเซีย หมูเกาะชวามีข้อสันนิฐานว่า เสือดำจะพบเฉพาะในเขตโซนร้อนเท่านั้น และมีข้อสังเกตตามหลักทฤษฎีหนึ่งว่า สัตว์ที่พบในเขตร้อนที่มีฝนตกชุกมักจะเปลี่ยนเป็นดำ หรือมีสีเข้มกว่าสัตว์ที่พบในเขตอื่น แม้แต่ในประเทศไทยก็มีสัตว์ที่เข้าข่ายนี้ด้วยเช่นกัน คือสัตว์ชนิดเดียวกันที่พบได้ทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้ จะพบว่าสัตว์ที่พบทางภาคใต้สีจะเข้มกว่า ยิ่งลงไปทางทิศใต้มากเท่าไหร่ก็จะพบเสือดาวน้อยลง และพบเสือดำมากขึ้น มีรายงานการพบเสือดาวในมะละกาว่า พบแต่เสือดำทั้งหมด ยังเป็นเรื่องกังขาสำหรับนักชีววิทยา เกี่ยวกับเม็ดสี(pigments) ของเสือดาวและเสือดำ รวมทั้งเสือจากัวร์ดำด้วย ว่ามีกลไกทางพันธุ์กรรมของการเกิดขนสีดำอย่างไร ทราบว่าขนของเสือดำเกิดจากยีนที่ให้เม็ดสียูเมลานิน(Eumelanin) หรือเม็ดสีสีดำเพียงอย่างเดียว แต่ไม่เม็ดสีที่เป็นสีเหลือง ซึ่งผลมาจากยีนที่เป็นกลไกควบคุมลักษณะของสีขน ลักษณะของเสือดาวและเสือดำแยกตามลักษณะของสีขนที่เห็น เสือดาวจะมีสีพื้นสีพื้นลำตัว เป็นสีน้ำตาลอมเหลืองใต้ท้องเป็นสีขาวหรือเทา ส่วนหลังและด้านข้างของลำตัวมีลายจุดสีดำเรียงกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่าลายขยุ้มตีนหมาหรือลายกลีบกุหลาบ(Rosette) ส่วนที่หัว ขา และใต้ท้องสีดำจะไม่เป็นลายขยุ้มตีนหมา เป็นเพียงแต้มสีดำ ส่วนเสือดำจะเห็นขนสีดำทั่วทั้งตัว และมีลายขยุ้มตีนหมาสีดำเช่นเดียวกันกับเสือดาว แต่จะดูกลมกลืนกับขนสีดำ จึงมองเห็นไม่ชัด ถิ่นอาศัยของเสือดาวส่วนใหญ่ จะอยู่ในป่าทุกแบบเช่นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นรอยต่อของป่า ซึ่งจะมีสัตว์กินพืชจำพวกเก้ง กวางป่า ลิง หมูป่า อาศัยอยู่ แต่เสือดาวก็สามารถปรับตัวเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอื่นๆได้ เช่น ทุ่งหญ้า ป่าที่มีเพียงพุ่มไม้แห้งๆ |
||
|
||